กระบวนการ inpun

กระบวนการ InPut มีดังต่อไปนี้

1. อินพุต - เอาท์พุต ( Input - Output ) เป็นส่วนของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อกับโลกภายนอกโดยรับ-ส่งข้อมูลกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้กลไกภายในตรับไปปฏิบัติโดยผ่านทางอินพุตทำให้ผู้ใช้สามารถรับทราบผลการปฏิบัติงานของเครื่องได้ ตัวอย่างของอุปกรณ์อินพุต ได้แก่ แป้นพิมพ์ ตัวขับดิสก์ เป็นต้น และตัวอย่างของอุปกรณ์เอาท์พุต ได้แก่ จอภาพและเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู ( Central Processing Unit : CPU ) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้รับมาจากอินพุต
หรือนำเอาข้อมูลจากส่วนอินพุตมาประมวลผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ การปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือการประมวลผลนี้เราเรียกว่าการเอ็กซีคิ้ว
(execute)การเอ็กซีคิ้วชุดคำสั่งหรือโปรแกรมเรียกว่าการรัหรืออาจกล่าวว่าโปรแกรมถูกเอ็กซีคิ้ว
หน่วยประมวลผลกลางเราสามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีก 2 ส่วนคือ
-หน่วยควบคุม ( control unit ) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ในระบบทั้งหมดให้มีการทำหน้าที่ให้ถูกต้อง
-หน่วยคำนวณ ( arithmetic logic unit ) มีหน้าที่ในการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์
เช่น บวก ลบ คูณ หาร และงานทางด้านตรรกศาสตร์ เช่น AND OR นอกจากนี้ยังสามารถทำโอเปอร์ชั่นอื่นๆ อีก เช่น การเลื่อนบิต
( shift ) หรือการทำคอมพลีเมนต์ ( complement ) เพื่อสลับค่าตัวเลขจากบวกเป็นลบ หรือจากลบเป็นบวก
เช่น -5 หรือ +5 เป็นต้น สำหรับหน่วยควบคุมมีหน้าที่ควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ เป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง
อาศัยเทคโนโลยีก้าวหน้าในปัจจุบัน เราสามารถผลิตซีพียู ลงบนแผงวงจรรวมหรือไอซี (Integrated
Circuit) ที่มีขนาดเล็ก ๆ ได้ และเราเรียกกันว่าไมโครโปรเซสเซอร์ หรือ โปรเซสเซอร์
3.หน่วยความจำ (Memory) เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อสามารถเก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่คอมพิวเตอร์
ต้องการใช้เอาไว้ ดังนั้นหน่วยความจำจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ๆ อาจมีหน่วยความจำขนาดหลายเมกกะไบต์
(106 ไบต์) หรือ หลายจิกกะไบต์ (109 ไบต์ ) เราอาจแบ่งหน่วยความจำออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
- หน่วยความจำปฐมภูมิ เป็นหน่วยความจำที่ติดต่อกับซีพียูโดยตรงมี 2 ชนิดคือ แบบที่ข้อมูลที่เก็บไว้ไม่สูญหาย
แม้ไม่มีไฟฟ้าป้อน เป็นหน่วยความจำที่เรียกกันทั่วไปว่า รอม ( Read Only Memory : ROM ) ข้อมูลที่เก็บไว้ภายใน
ถูกสร้างขึ้นในขณะที่สร้างหน่วยความจำจากโรงงาน ผู้ผลิต และไม่สามารถแก้ไขได้
(แต่ในปัจจุบันหน่วยความจำประเภทนี้ได้รับการพัฒนา
ให้สามารถบันทึกและลบข้อมูลภายในได้ แต่ต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษเฉพาะหน่วยความจำชนิดนี้ ได้แก่ programmeble ROM
หรือ PROM และ erasable PROM หรือ EPROM ) ส่วนหน่วยความจำอีกชนิดหนึ่งคือ แรม ( Random
Access Momery , RAM ) ข้อมูลที่เก็บไว้จำเป็นต้องใช้กระแสไฟเพื่อรักษาข้อมูลให้คงอยู่ ถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูล
ที่เก็บไว้ก็หายไปหมด
-หน่วยความจำทุติยภูมิ หน่วยความจำประเภทนี้ เราจะไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผล แต่เป็นส่วนหนึ่งของ
อุปกรณ์อินพุต-เอาท์พุตมากกว่า ตัวอย่างของหน่วยความจำ ประเภทนี้ได้แก่ ดิสก์ เทป เป็นต้น
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการศึกษาระบบปฏิบัติการ การจัดแบ่งโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์อาจแตกต่างจากที่เคย
พบมา เราจะแบ่งโครงสร้างของระบบคอมพิวเตอร์เป็นดังนี้
1. ระบบภายใน ในส่วนนี้ประกอบไปด้วย ซีพียู และหน่วยความจำปฐมภูมิ ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกส่วนนี้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
หรือ คอมพิวเตอร์
2. ระบบภายนอก ในส่วนนี้คือ ส่วนอุปกรณ์ อินพุต-เอาท์พุต และหน่วยความจำทุติยภูมิ ทั้งหมดนี้เราเรียกว่าเป็นอุปกรณ์
รอบข้าง (peripheral)
เป็นการแสดงการติดต่อข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งยังคงเหมือนกับ แต่ลดความยุ่งยากลง เพื่อให้ดูเข้าใจง่ายขึ้น ในส่วนของอุปกรณ์
อินพุตจะรับข้อมูล หรือ รับคำสั่ง แล้วส่งให้ซีพียูประมวลผล เมื่อซีพียูมีข้อมูลจะส่งกลับให้ผู้ใช้ ซีพียูจะส่งข้อมูลไปทางอุปกรณ์เอาท์พุต ในการ
ทำงานของซีพียูบางครั้งซีพียูอาจส่งข้อมูลไปเก็บ เอาไว้ในหน่วยความจำทุติยภูมิ เช่น ดิสก์ ในลักษณะนี้ดิสก์จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เอาท์พุต
และในทำนองเดียวกัน ซีพียูอาจรับหรือต้องการข้อมูลมาจากดิสก์เช่นเดียวกัน ซึ่งในกรณีนี้ดิสก์จะเป็นอุปกรณ์อินพุต นั่นคือ หน่วยความจำ
ทุติยภูมิสามารถเป็นได้ทั้งอุปกรณ์อินพุต และ เอาท์พุตการที่เราแยกหน่วยความจำปฐมภูมิกับหน่วยความจำทุติยภูมิออกกัน
เนื่องจากว่าหน่วยความจำปฐมภูมินั้น ติดต่อกับซีพียูโดยตรงไม่ต้องผ่านอุปกรณ์อื่น แต่สำหรับหน่วยความจำทุติยภูมิเป็น
อุปกรณ์ภายนอกแยกออกไป และ ข้อสำคัญก็คือ การติดต่อระหว่างอุปกรณ์อินพุต-เอาท์พุตและหน่วยความจำทุติยภูมิต้องมีการอุปกรณ์ช่วยเหลือ



การจัดการหน่วยความจำ
การจัดการหน่วยความจำเป็นหน้าที่อีกประการหนึ่งของ OS หน่วยความจำเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณาขีด
ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมาก ขีดความสามารถในการทำงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
โปรแกรมที่มีความสลับซับซ้อนและมีความสามารถมากมักต้องการหน่วยความจำปริมาณมากด้วย แต่หน่วยความจำเป็นทรัพยากร
ที่มีราคาแพง และในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กหน่วยความจำมีขนาดจำกัด ทำให้เราไม่สามารถขยายขนาดหน่วยความจำได้มากตาม
ที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องใช้หน่วยความจำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อความสะดวกของผู้ใช้ เราจึงยกงานการจัดการหน่วยความจำนี้ให้
เป็นหน้าที่ของ OS เช่น ตรวจดูว่าโปรแกรมใหม่จะถูกนำไปวางไว้ในหน่วยความจำที่ไหน? เมื่อใด? หน่วยความจำไหนควรถูก
ใช้ก่อนหรือหลัง? โปรแกรมไหนจะได้ใช้หน่วยความจำก่อน?
การจัดการหน่วยความจำของ OS นั้นมีการใช้มาตรการหรือยุทธวิธีในการจัดการอยู่ 3 ประการ
1. ยุทธวิธีการเฟตซ์ (fetch strategy)
2. ยุทธวิธีการวาง (placement strategy)
3. ยุทธวิธีการแทนที่ (replacement strategy)



การจัดการโปรเซสเซอร์
โปรเซสเซอร์เป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งของระบบ ในบางระบบมีโปรเซสเซอร์อยู่เพียงตัวเดียวคือซีพียู แต่ในบางระบบก็มี
โปรเซสเซอร์หลายตัวช่วยซีพียูทำงานเช่น โปรเซสเซอร์ช่วยงานคำนวณ ( math-coprocessor ) และ
โปรเซสเซอร์ควบคุมอินพุต-เอาต์พุต เป็นต้น เนื่องจาก โปรเซสเซอร์มีราคาแพงมากเราจึงควรจัดการให้มีการใช้งานโปรเซสเซอร์
ให้คุ้มค่าที่สุด โดยพยายามให้มันทำงานอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะสั้น ก็คงต้องกล่าวถึงตัวจัดคิวในระยะยาวด้วย
(longterm scheduler)
การทำงานของตัวจัดคิวในระยะยาวมีความแตกต่างกับตัวจัดคิวในระยะสั้นอยู่ในบางส่วน การจัดคิวในระยะสั้นเป็นการจัดคิวในระดับโปรเซส
และทำหน้าที่คัดเลือกโปรเซสในสถานะพร้อมและส่งเข้าไปอยู่ในสถานะรัน ส่วนการจัดคิวในระยะยาวจะเป็นการจัดคิวในระดับ "งาน"
ไม่ใช่ระดับ "โปรเซส" เมื่อผู้ใช้ส่งงานเข้ามาในระบบ งานเหล่านี้จะเข้าไปรออยู่ในคิวงานเมื่อระบบอยู่ในสภาพพร้อมที่จะรับ
โปรเซสใหม่ได้







Output: คือผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU/Processor) และนำผลลัพธ์นั้นส่งออกไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล ซึ่งอุปกรณ์แสดงผลมาตรฐาน ได้แก่ Monitor และ Printer
อุปกรณ์แสดงผล (Output Device)






Screen (monitor)
สามารถแสดงผลข้อความ (Text) ตัวเลข (Number) รูปภาพ (Image) เสียง (Sound) และ VDO แสดงผลในรูปแบบของสีหรือขาวดำ การแสดงผลทาง Screen output จะเรียกว่า soft copy สัมผัสไม่ได้และแสดงผลชั่วคราว จอภาพที่ใช้ทั่วไปได้แก่
Cathode ray tube (CRT)
แสดงผลข้อความ (Text) และกราฟิก (Graphics) ส่วนใหญ่แสดงผลเป็นสี ส่วนจอ monochrome จะแสดงผลเป็นสีเดียว (ขาว-ดำ) ใช้ Graphics card ในการแปลงสัญญาณจากหน่วยควบคุมไปเป็นภาพให้ user มองเห็น






ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการแสดงผลของจอภาพ
1. Scan rate : อัตราความถี่ในการ refresh ภาพ ซึ่งอัตราการ Refresh บนหน้าจอ (Refresh Rate)
จะใช้หน่วยวัดเป็น Hertz (Hz) คือ รอบต่อวินาที (cycles per second) ซึ่งโดยปกติจอภาพจะมีการ Refresh 72 Hz / วินาที
2. Resolution : ความละเอียดของจอภาพ ซึ่งปกติจะใช้หน่วยวัดเป็น pixels (จำนวนจุดในการ
เกิดภาพ) ถ้ามีจำนวน pixels มากก็จะมีความละเอียดในการแสดงผลสูง แต่ละ pixels บรรจุเม็ดสี 3 สี คือ แดง (Red) เขียว (Green) น้ำเงิน (Blue) ซึ่งจอภาพมาตรฐานที่ใช้แสดงผลภาพกราฟิก (Graphics standards) มี 2 แบบ ได้แก่
- จอภาพ VGA (Video Graphics Array) แสดงผล 256 สี (Color)ส่วนมากจะใช้ค่า
ความละเอียดบนหน้าจอ 640*480 มีความละเอียดน้อยกว่าจอภาพแบบ SVGA
- จอภาพ Super VGA (SVGA: Super Video Graphics Array) แสดงผล 16 ล้านสี
(Color) ส่วนมากจะใช้ค่าความละเอียดบนหน้าจอ 800 * 600 [ (horizontal) * (vertical) pixels ] หรือ 1024*768 หรือสูงกว่า SVGA ดีกว่าและได้รับความนิยมมากกว่า VGA
3. Dot pitch : คือจุดที่ประกอบกันเป็น Pixel ซึ่งแต่ละ Pixel ประกอบด้วยจุด 3 จุด(three dots)
ได้แก่ (red, green, blue) แต่ละ dot pitch มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 28 มิลลิเมตร (millimeter) dot pitch จะเล็กมากและทำให้ภาพมีความคมชัด
4. RAM-Card memory : หน่วยความจำ RAM สำหรับการ์ดจอ ถ้ามี RAM-Card มาก (high-
speed) ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของภาพที่แสดง
ขนาดของจอภาพ (Monitor Size)
การวัดขนาดของหน้าจอนั้น จะวัดเป็นนิ้ว (Inches) ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน 2 ขนาดได้แก่ 15”
(พื้นที่แสดงภาพ 13”) และขนาด 17” (พื้นที่แสดงภาพ 15”) โดยวัดตามมุมทแยงของจอ จอภาพที่มีขนาดใหญ่ ราคาก็จะสูงตามไปด้วย และความละเอียดบนหน้าจอขนาด 17” มักเซตค่าความละเอียด ตั้งแต่ 640*480 ถึง 1280*1024
Flat-panel screens
Liquid crystal display (LCD) ใช้ครั้งแรกกับเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptops ต่อมานำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computers) มีขนาดบางมาก (หนาประมาณ 1 นิ้วกว่าเท่านั้น) ทำให้เกิดความคมกริดของภาพ (Images) และข้อความ (Text) มากกว่าจอ CRTs มองภาพได้สบายตากว่าจอ CRTs
Smart displays
ใช้หลักการพื้นฐานของ Flat-panel technology โดยมี processor ของตนเองใช้ Wireless เป็นตัวรับ-ส่ง สัญญาณ โดยที่จอภาพอัจฉริยะ (Smart Displays) เป็นจอคอมพิวเตอร์พกพาที่เชื่อมต่อกับพีซีได้โดยไม่ต้องใช้สาย สามารถเข้าถึงอีเมล์ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ได้จากทุกที่ในบ้าน จุดที่น่าสนใจคือ สามารถใช้คุณสมบัติพีซีได้อย่างครบถ้วน โดยไม่ต้องอาศัยสาย แต่คำเตือน คือ ไม่ควรอยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากจะขาดการติดต่อกับพีซีได้ง่าย ปัจจุบันมีให้เลือกไม่กี่รุ่น และราคาก็ยังแพงอยู่ เริ่มต้นที่ 42,957 บาท และอาจสูงถึง 64,457 บาท ในบางรุ่น ซึ่งด้วยจำนวนเงินดังกล่าว สามารถซื้อแล็บท็อประดับดีเยี่ยมได้หนึ่งเครื่อง ขณะที่นักวิเคราะห์บางราย คาดการณ์ว่า ราคาจะลดลงครึ่งหนึ่งในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า พร้อมกับมีการปรับปรุงลักษณะของภาพบนจอให้ดียิ่งขึ้น (http://www.nectec.or.th/bid/hotissue_5equip.htm)






Printer
ใช้เมื่อต้องการแสดงผลในรูปของกระดาษ งานที่ Print ออกมาทางกระดาษจะเรียกว่า “hard copy” และสามารถกำหนดแนวของกระดาษได้ 2 แนวคือ กระดาษแนวตั้ง (Portrait) และกระดาษแนวนอน (Landscape)
สามารถจำแนกเครื่อง printer มี 2 ประเภท ได้แก่
1. Impact printer
2. None-impact printer






Impact Printers
สร้างภาพออกทางกระดาษ โดยมีการกระทบหัวเข็มหรือสัมผัสลงบนกระดาษ มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Mainframe Computers ที่มีการ Print รายงานที่มีความยาวมาก ๆ โดยใช้กระดาษต่อเนื่อง หรือใช้กับการ Print กระดาษต่อเนื่องที่ต้องการหลาย ๆ Copy เครื่อง printer ที่จัดอยู่ในประเภทของ Impact Printer ได้แก่ Dot-matrix printer






Dot-matrix printer
ใช้การกระทบของหัวเข็ม ตัวอักษรและภาพเกิดจากการ plot จุดเกิดเป็น
เส้น (line) ให้เห็นเป็นภาพ
การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Dot Matrix (Dot Matrix Printers – Performance)
1. ความละเอียด (Resolution) : เครื่องพิมพ์ Dot Matrix มีคุณภาพและความละเอียดในงานพิมพ์ต่ำกว่า
เครื่องชนิดอื่น ซึ่งในอดีต Dot Matrix จะมีหัวเข็ม (pin) 9 หัวเข็ม เนื่องจากหัวเข็มที่น้อย และพิมพ์งานตามลำดับ ทำให้มีความเร็วและความละเอียดต่ำ แต่ถ้าเป็น Dot Matrix ที่มี 24 หัวเข็ม จะมีคุณภาพและความละเอียดดีกว่า
2. ความเร็ว (Speed) : วัดความเร็วเป็นตัวอักษรต่อวินาที (characters per second :cps) ซึ่งโดยปกติจะมี
ความเร็วอยู่ที 500 cps






None-impact Printers
เป็นเครื่องพิมพ์ที่ Print ภาพออกทางกระดาษโดยไม่ใช้การกระทบของหัวเข็ม เครื่อง Print ที่รู้จักกันดีคือ Laser printer และ Ink-jet printer






Ink-jet printer
ทำงานโดยใช้การพ่นหมึกลงบนกระดาษ สามารถ Print ได้ทั้งภาพขาว-ดำ
และสีมีคุณภาพสูงและหมึกไม่เลอะ ราคาเครื่องถูกว่า laser printers แต่ความคมชัดหรือประณีตของตัวอักษรก็ด้อยกว่า Laser printer






การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Ink Jet (Ink Jet Printers – Performance)
1. ความเร็ว (Speed) : ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่อง Ink jet จะวัดเป็นหน้าต่อนาที
(pages per minute : ppm) 2 – 4 ppm
2. ความละเอียด (Resolution) : ความละเอียดในการพิมพ์จะวัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dots per inch :dpi)
โดยปกติจะอยู่ที่ 300 – 600 dpi ซึ่งถือว่าคุณภาพต่ำกว่าเครื่อง Laser printer
3. ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ
4. ราคาของตัวเครื่อง (Price) : ถ้าเปรียบเทียบด้านราคาแล้วจะมีราคาถูกกว่าเครื่อง Laser printer รวมถึง
ค่าใช้จ่ายในการใช้งานถูกกว่าด้วย (low operating costs)
Laser printer
เป็นเครื่อง Print ที่ไม่มีการสัมผัสลงบนกระดาษ การทำงานนั้นจะใช้การยิงลำแสงส่งผ่านภาพไปยัง กระดาษ มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่อง ink-jet printer






การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Laser (Laser Printers – Performance)
1. ความละเอียด (Resolutions) : เครื่อง Laser มีความละเอียดในการพิมพ์ ตั้งแต่ 300 – 1200 dpi
หรือสูงกว่า
2. ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ(Black-and-white) แต่ Laser ที่พิมพ์
สีได้นั้นราคาเครื่องจะสูงกว่า Laser ทั่วไป และสามารถพิมพ์สีได้ระหว่าง 4 – 16 ppm (Pages per minute)
3. คุณภาพในการพิมพ์ (quality ) : เครื่อง Laser มีคุณภาพในงานพิมพ์สูงกว่าเครื่อง ink jet printers
แต่ราคาสูงกว่าด้วยทั้งในด้านตัวเครื่องและค่าใช้จ่ายในการใช้งาน






Hand held printer
เป็นเครื่อง Print แบบพกพาได้ ส่วนมากใช้กับการ Print รูปขนาดเล็ก หมึกที่ใช้จะถูกออกแบบมาพิเศษ มีความสามารถในการทนน้ำได้ ตลับหมึกมีการแยกสีเฉพาะ






ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมากับการใช้งาน Printer
นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อตัวเครื่อง Printer แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นที่ตามมา เมื่อมีการนำ Printer เข้ามาใช้งาน ดังนี้
1. ค่าหมึกพิมพ์ สามารถเลือกใช้ผงหมึกแบบเติม โดยจะมีหลายประเภทให้เลือก ซึ่งปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตก็ได้มีการพัฒนาคุณภาพและความสะดวกในการใช้ง่าย ให้เติมหมึกได้ง่ายกว่าในอดีต โดยไม่ต้องแกะตลับหมึก มีลักษณะแบบเป็นขวดพลาสติก และหัวบีบลงในช่อง Toner ได้เลย ทำให้ผงหมึกไม่ฟุ้งกระจาย ไม่เกิดผลเสียกับเครื่อง ปลอดภัยต่อสุขภาพ มีฝากรวยสำหรับเติม หรือสามารถเลือกเปลี่ยนตลับหมึกได้เลย
2. ค่าอะไหล่และค่าซ่อมเมื่ออุปกรณ์บางชิ้นส่วนของตัวเครื่อง Printer ชำรุด
นอกจากอุปกรณ์ Output มาตรฐานสองรายการข้างต้นนี้แล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่นอีกที่ user ใช้แสดงผลลัพธ์ของข้อมูล เช่น อุปกรณ์ในการแสดงเสียง (Voice) และ Music






Voice Output Device
อุปกรณ์แสดงผลเสียง(Voice Output Device) จะใช้ตัวสังเคราะห์เสียง (Voice
synthesizers) เป็นตัวแปลงข้อมูลให้เป็นเสียง






Music Output Device
เป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลสื่อ Multimedia เกม (games) และ VDO ซึ่งแสดงข้อมูลทั้งภาพและเสียง
โดยอาศัยลำโพงเป็นอุปกรณ์แสดงผลเสียง และหน้าจอคอมพิวเตอร์ในการแสดงผลภาพ
ระบบเสียง (Sound Systems)
เครื่อง PC ที่ต้องการใช้งานร่วมกับสื่อ Multimedia จำเป็นต้องมีการ์ดแปลงสัญญาณเสียง (sound card) ลำโพง (speakers) รวมถึง CD-ROM และ DVD drive เพื่ออ่านข้อมูลออกจากแผ่น CD และ DVD
sound card จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) ให้กลายเป็นสัญญาณอนาล๊อก (analog) ซึ่งก็คือสัญญาณคลื่นเสียงนั่นเองแล้วก็แสดงผลออกทางลำโพง นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ software ช่วยในการแก้ไข ดัดแปลง สร้างหรือแต่งเสียงเพลงต่าง ๆ ได้ตามต้องการ