ตัวแบบข้อมูลที่สำคัญ 3 ประเภทได้แก่อะไรบ้างและมีคำอธิบายว่าอย่างไร

ตัวแบบข้อมูลที่สำคัญ 3 ประเภท

ตัวแบบข้อมูลมี 3 ประเภทที่สำคัญ คือ
ตัวแบบเชิงสัมพันธ์ (Relational Model)
ตัวแบบเครือข่าย (Network Model)
ตัวแบบลำดับชั้น หรือแตกสาขา(Hierarchic Model)
1. ตัวแบบเชิงสัมพันธ์ (จะกล่าวถึงละเอียดในบทต่อไป)ผู้ใช้ทั่วไปจะมองเห็นตัวแบบเชิงสัมพันธ์ว่า คือ การเก็บข้อมูลเป็นตาราง (Table) หรือถ้าเรียกอย่างเป็นทางการตามทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ก็คือ รีเลชั่น (Relation) นั่นเอง ลักษณะของตารางจะมี 2 มิติ คือ แถว (Row) และคอลัมน์ (Column)โดยเอ็นทิตี้ (Entity) ต่าง ๆจะมีข้อมูลถูกนำมาจัดเก็บในลักษณะเป็นตาราง กล่าวคือจะไม่มีแฟ้มข้อมูลแม่หรือแฟ้มข้อมูลลูก แฟ้มข้อมูลแต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกันตัวอย่างผลิตภัณฑ์ระบบบริหารฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เรียงตามลำดับอักษรได้แก่
DB2 (มีหลายรุ่น) ของบริษัท IBM Corp.
Ingres II ของบริษัท Computer Associates International Inc.
Informix Dynamic Server ของบริษัท Informix Software Inc.
Microsoft SQL Server ของบริษัท Microsoft Corp.
Oracle 8i ของบริษัท Oracle Corp.และ
Sybase Adaptive Server ของบริษัท Sybase Inc.
2. ตัวแบบเครือข่าย บางที่เรียกว่า CODASYL Systems หรือ DBTG Systems ตามชื่อคณะทำงานที่เสนอแนะกล่าวคือกลุ่มงานฐานข้อมูลแห่งการประชุมว่าด้วยเรื่องภาษาระบบฐานข้อมูล(the Data Base Task Group of the conference on Data Systems Languages) ตัวอย่างเช่น ระบบ IDMS ของบริษัท Computer Associates International Inc. ตัวแบบเครือข่ายนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการสื่อสารข้อมูล (Data Communication) แต่อย่างใดโดยตัวแบบนี้ในแง่การมองของผู้ใช้จะเป็นไปในรูปของการรวบรวม ระเบียนต่าง ๆและความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างตัวแบบเชิงสัมพันธ์และแบบเครือข่ายคือในตัวแบบเชิงสัมพันธ์จะแฝง (Implicit) การแสดงความสัมพันธ์เอาไว้ (หมายความว่าระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในเขตข้อมูลใดเขตข้อมูลหนึ่งเหมือนกัน)ส่วนการแสดงความสัมพันธ์ในตัวแบบเครือข่ายจะเป็นไปอย่างโจ่งแจ้ง (Explicit) คือ แสดงได้ในโครงสร้างอย่างชัดเจน

3.ตัวแบบแตกสาขา หรือตัวแบบลำดับตัวแบบนี้พัฒนาขึ้นโดยไอบีเอ็มเมื่อปี พ.ศ. 2511 ตัวอย่างเช่น ระบบ IMS ของ IBM มีความสัมพันธ์ระหว่างแฟ้มข้อมูลเป็นระดับชั้นหรือตามอาวุโสแฟ้มข้อมูลจะมีตำแหน่งจากบนลงล่างโดยแฟ้มที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าจะเป็นแม่ของแฟ้มที่อยู่ในระดับต่ำกว่าข้อสังเกตคือ แฟ้มหนึ่งจะมีแฟ้มข้อมูลลูก (Child File) ได้หลายแฟ้มขณะที่แฟ้มลูกจะมีแฟ้มแม่เพียงแฟ้มเดียวเมื่อมองในลักษณะนี้จะเห็นว่าตัวแบบนี้มีโครงสร้างเหมือนต้นไม้ (Tee) ซึ่งอันที่จริงตัวแบบนี้คล้ายแบบเครือข่าย แต่ต่างกันตรงที่ตัวแบบแตกสาขามีกฎเกณฑ์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 ข้อ คือในแต่ละกรอบจะมีหัวลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน 1 หัวจากตัวอย่างในภาพของตัวแบบเครือข่าย จะเห็นว่ากรอบอาจารย์มีลูกศรเข้ามา 2 ทางดังนั้น เราจะสร้างฐานข้อมูลเดียวกันนี้ด้วยตัวแบบแตกสาขาไม่ได้แต่ต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม

นอกจากนั้นยังมีลักษณะอีกประการหนึ่งที่สองตัวแบบหลังนี้แตกต่างจากตัวแบบเชิงสัมพันธ์ก็คือในตัวแบบลำกับชั้น และตัวแบบเครือข่ายนั้น จะมีการใช้ตัวชี้ (Pointers) เพื่อแทนเส้นทางขึ้นลงไปตามแผนภาพต้นไม้สำหรับตัวแบบลำดับชั้นและแทนเส้นทางเชื่อมต่อในแผนภาพเครือข่ายของตัวแบบเครือข่ายแต่ในตัวแบบเชิงสัมพันธ์จะไม่มีการเกี่ยวข้องกับตัวชี้ดังกล่าวเลย (C.J. Date, 2000, p. 26)
นอกจากตัวแบบทั้ง 3 ดังกล่าวแล้วเมื่อไม่นานมานี้เริ่มมีผลิตภัณฑ์ระบบบริหารฐานข้อมูลแบบใหม่ปรากฏขึ้นมาบ้าง คือ
ระบบบริหารฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (Object DBMS) เช่น Gemstone ของบริษัท Gemstone Systems Inc.และ Versant ODBMS ของบริษัท Versant Object Technology
ระบบบริหารฐานข้อมูลแบบผสมระหว่างเชิงวัตถุและเชิงสัมพันธ์ (Object/Relational DBMS) ตัวอย่างเช่น DB2 และ Informix